คณะศิลปกรรมศาสตร์
วันที่ประกาศข่าว : 2 มี.ค. 66 / อ่าน 102  / 


 

คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา  ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) วงเงิน 1,500,000 บาท  ในการดำเนินงาน  “โนรา” การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นที่ทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (“Nora” Propel Creative Economy on Songkhla Lake Basin Cultural Areas) เพื่อเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมโนรา กับการมีส่วนร่วมของชุมชนวัดเขียนบางแก้ว ณ วัดเขียนบางแก้ว  ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน  จังหวัดพัทลุง โดยการเสวนา เรื่อง การเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมโนรากับการมีส่วนร่วมของชุมชนวัดเขียนบางแก้ว ในวันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ณ วัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง  

            ประเด็นการมีส่วนร่วม : การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย

          - การจัดเส้นทางท่องเที่ยวย้อนรอยโนรา  การจัดทำนวัตกรรม ส่งเสริมอาชีพให้ชุมชนมีรายได้ อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์โนรา ให้ชาวบ้านชุมชน มีความรู้   จัดทำตลาดย้อนยุค  จัดให้การสอนโนราในวันเสาร์-อาทิตย์

            - พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการทางวัฒนธรรมโนราด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 

           - พัฒนานวัตกรทางด้านวัฒนธรรมโนราให้มีศักยภาพในการต่อยอดและสร้างสรรค์ทุนทางวัฒนธรรม

           - พัฒนาสื่อดิจิตัลและสมรรถนะนวัตกรทางวัฒนธรรมโนรา  

          ผู้มีส่วนร่วม 

            - รองนายกเทศมนตรี ตำบลจองถนนประธานกรรมการจัดทำแผนการท่องเที่ยว ตำบลจองถนน  นักวิชาการอิสระ  ประธานท่องเที่ยวชุมชนเวียงกลางบางแก้ว  คณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเวียงกลางบางแก้ว  ประชาชนทั่วไป  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลจองถนน หัวหน้าคณะโนราศิษย์พ่อครื้น สุริยะจันทร์ พัทลุง  

           ผลจากการมีส่วนร่วม 

           การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมของคนคืนถิ่นหรือคนรุ่นใหม่  ช่างฝีมือท้องถิ่นหรือศิลปินพื้นบ้าน และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมโนรา รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมกันสกัดคุณค่าทุนทางวัฒนธรรมโนรา ที่ได้ข้อมูลจากการจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ และนำองค์ความรู้มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมโนราจากทุนวัฒนธรรมโนราที่มีอยู่เดิม เป็นผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมโนราในรูปแบบใหม่ที่ยังคงคุณค่า รักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงการเกาะเกี่ยวกันทางสังคมของคนคืนถิ่นหรือคนรุ่นใหม่  ช่างฝีมือท้องถิ่นหรือศิลปินพื้นบ้าน และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมโนรา ชุมชนที่เกี่ยวข้องบนพื้นที่ทางวัฒนธรรมนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่น สืบทอดทุนทางวัฒนธรรมโนราอย่างสร้างสรรค์สู่คนรุ่นต่อไป โดยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมและรายได้ชุมชนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์  เพิ่มความสามารถของชุมชนท้องถิ่นและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคม ท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตถกรรมลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการพึ่งตนเองและจัดการตนเองตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม




คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 140 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์ / โทรสาร 0 7431 7619 email : fineart@tsu.ac.th

พัฒนาโดย สำนักคอมพิวเตอร์ ipv6 ready